การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ระยะร่นของอาคาร (หอพัก) ภายในซอยมหาชัย 5/4 ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

136 โพสต์
2 ผู้ใช้
0 Likes
15.2 K เข้าชม
กระทู้: 764
หัวข้อเริ่มต้น
Prominent Member
เข้าร่วม: 4 ปี ที่ผ่านมา

อยู่ในระบบ "ทิพย์" หรือครับ 

ร้องเรียนหลายครั้งแล้ว
ส่งเรื่องร้องเรียนอีกครั้งล่าสุด เมื่อ 14 พ.ค. 65

ระบบติดตามเรื่องของคุณที่อยู่ในหน้าแรกในเว็บเพจ
บันทึกรับเรื่องให้สามารถติดตามผลได้
ล่าสุด
มีในระบบให้สามารถติดตามได้แค่ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 
เป็นต้นไป

ทำงาน ทำงาน ทำงาน
อย่าสร้างภาพเพื่อเอาแต่ประโยชน์สุข ... ของตัวเอง
คิดถึงทุกข์ สุข ของประชาชน กันบ้างน่ะครับ
 

ตอบ
กระทู้: 764
หัวข้อเริ่มต้น
Prominent Member
เข้าร่วม: 4 ปี ที่ผ่านมา

ไม่มีความรับผิดชอบ ไร้จิตสำนึกในการทำงานภาครัฐ
ไม่บังคับใช้กฎหมาย โง่ หรือ ขี้เกียจ (ครับ)

" ไม่ทำหน้าที่ ก็ไม่ควรรับเงินเดือน"

ระยะร่นและที่เว้นว่างทำไมถึงสำคัญ?

- เพื่อความปลอดภัยด้านอัคคีภัย กฎหมายระยะร่นอาคารนั้นมีความสำคัญมากเมื่อเกิดอัคคีภัย เพราะระยะที่เว้นจากถนนจะช่วยให้ขับรถดับเพลิงเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวกยิ่งขึ้น และที่เว้นว่างรอบอาคารยังทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถดับเพลิงได้จากรอบด้าน และยังลดโอกาสที่ไฟจะลุกลามไปยังอาคารที่อยู่ใกล้เคียงกันอีกด้วย

- เพื่อสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย เมื่ออาคารแต่ละหลังอยู่ไม่ติดกันจนเกินไป ก็จะช่วยป้องกันการรบกวนกันระหว่างผู้ใช้ได้ส่วนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเสียง แสง กลิ่น และความเป็นส่วนตัว รวมถึงสัตว์รบกวนก็จะเดินทางระหว่างอาคารได้ยากขึ้น และการมีช่องว่างระหว่างอาคารยังช่วยทำให้อากาศถ่ายเทกว่าการสร้างอาคารโดนไม่คำนึงถึงที่เว้นว่าง

- เพื่อการก่อสร้างและซ่อมแซมอาคาร เมื่อที่เว้นว่างของอาคารมีเพียงพอ การก่อสร้าง ซ่อมแซม หรือต่อเดิมอาคารก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการวางนั่งร้าน ติดตั้งรางระบายน้ำ การฉาบปูน หรือทาสีบ้าน เพื่อให้การก่อสร้างยังอยู่ในเขตที่ดินของตัวเอง โดยไม่รบกวนหรือรุกล้ำไปยังเขตที่ดินข้างเคียง

" ระยะร่น " คือ ระยะห่างที่วัดจากตำแหน่งบนทางสาธารณะจนถึงแนวอาคาร ซึ่งมีทั้งการวัดจากเขตถนนและวัดจุดกึ่งกลางถนน โดยระยะร่นบ้านเดี่ยว ตึกแถว และอาคารสำนักงาน ก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทอาคารและขนาดของถนน ซึ่งระยะร่นจะต้องเป็นพื้นที่ว่างจากถนนจนถึงอาคาร โดยไม่สนใจแนวเขตที่ดินที่จะสร้างอาคารนั้น

ส่วน " ที่เว้นว่าง " คือ ระยะห่างที่วัดจากแนวเขตที่ดินจนถึงแนวอาคารทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดที่เว้นว่างไว้ทั้งอาคารเดี่ยวและอาคารชุดที่เรียงติดกัน ดังนั้น ที่เว้นว่างกับระยะร่นบ้านจึงมีความแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดตามกฎกระทรวงฯ ที่สรุปเฉพาะหัวข้อที่จำเป็นต้องทราบ ดังนี้

ที่เว้นว่าง
พื้นที่ว่างภายนอกอาคาร
- ที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างภายนอกอาคารไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด
- ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด
ตอบ
กระทู้: 764
หัวข้อเริ่มต้น
Prominent Member
เข้าร่วม: 4 ปี ที่ผ่านมา

อย่าหลงระเริงในหัวโขน ละเลย ละเว้น เลือกปฎิบัติ ในการทำหน้าที่
กฎหมายมีไว้ให้ทุกคนปฎิบัติตาม

https://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/law/67764/80673.PDF

ตอบ
กระทู้: 764
หัวข้อเริ่มต้น
Prominent Member
เข้าร่วม: 4 ปี ที่ผ่านมา
หลายท่านอาจยังไม่เข้าใจเหตุผลข้อร้องเรียนให้บังคับใช้กฎหมาย
เกี่ยวกับ "ระยะร่น" ของอาคาร

ะยะร่นและที่เว้นว่างทำไมถึงสำคัญ?

- เพื่อความปลอดภัยด้านอัคคีภัย กฎหมายระยะร่นอาคารนั้นมีความสำคัญมากเมื่อเกิดอัคคีภัย เพราะระยะที่เว้นจากถนนจะช่วยให้ขับรถดับเพลิงเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวกยิ่งขึ้น และที่เว้นว่างรอบอาคารยังทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถดับเพลิงได้จากรอบด้าน และยังลดโอกาสที่ไฟจะลุกลามไปยังอาคารที่อยู่ใกล้เคียงกันอีกด้วย

- เพื่อสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย เมื่ออาคารแต่ละหลังอยู่ไม่ติดกันจนเกินไป ก็จะช่วยป้องกันการรบกวนกันระหว่างผู้ใช้ได้ส่วนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเสียง แสง กลิ่น และความเป็นส่วนตัว รวมถึงสัตว์รบกวนก็จะเดินทางระหว่างอาคารได้ยากขึ้น และการมีช่องว่างระหว่างอาคารยังช่วยทำให้อากาศถ่ายเทกว่าการสร้างอาคารโดนไม่คำนึงถึงที่เว้นว่าง

- เพื่อการก่อสร้างและซ่อมแซมอาคาร เมื่อที่เว้นว่างของอาคารมีเพียงพอ การก่อสร้าง ซ่อมแซม หรือต่อเดิมอาคารก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการวางนั่งร้าน ติดตั้งรางระบายน้ำ การฉาบปูน หรือทาสีบ้าน เพื่อให้การก่อสร้างยังอยู่ในเขตที่ดินของตัวเอง โดยไม่รบกวนหรือรุกล้ำไปยังเขตที่ดินข้างเคียง

" ระยะร่น " คือ ระยะห่างที่วัดจากตำแหน่งบนทางสาธารณะจนถึงแนวอาคาร ซึ่งมีทั้งการวัดจากเขตถนนและวัดจุดกึ่งกลางถนน โดยระยะร่นบ้านเดี่ยว ตึกแถว และอาคารสำนักงาน ก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทอาคารและขนาดของถนน ซึ่งระยะร่นจะต้องเป็นพื้นที่ว่างจากถนนจนถึงอาคาร โดยไม่สนใจแนวเขตที่ดินที่จะสร้างอาคารนั้น

ส่วน " ที่เว้นว่าง " คือ ระยะห่างที่วัดจากแนวเขตที่ดินจนถึงแนวอาคารทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดที่เว้นว่างไว้ทั้งอาคารเดี่ยวและอาคารชุดที่เรียงติดกัน ดังนั้น ที่เว้นว่างกับระยะร่นบ้านจึงมีความแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดตามกฎกระทรวงฯ ที่สรุปเฉพาะหัวข้อที่จำเป็นต้องทราบ ดังนี้

ที่เว้นว่าง
พื้นที่ว่างภายนอกอาคาร

- ที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างภายนอกอาคารไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด
- ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด

อ้างอิง 

 
ตอบ
กระทู้: 764
หัวข้อเริ่มต้น
Prominent Member
เข้าร่วม: 4 ปี ที่ผ่านมา
ส่วนเจ้าของหอพัก และ เจ้าของที่ดินในซอยบ้านผม (มหาชัย 5/4)
ที่ดินแต่ละแปลงเป็นที่จัดสรร สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดเท่ากันทุกแปลง คือ 100 ตารางวา
หากจัดสรรพื้นที่ก่อสร้างให้ดีก็ทำได้ ควรจะแบ่งพื้นว่างสำหรับจอดรถยนต์ของตัวเองด้วย
แต่ ... มีคนเห็นแก่ตัวไม่กี่รายชอบฝ่าฝืนกฎหมาย เบียนเบียนใช้สิทธิยึดครองที่ทางสาธารณะ

 

ท่านนายกเทศมนตรี เทศบาลนครนครราชสีมา

ร้องเรียน/ร้องทุกข์ หลายครั้ง ติดตามทวงถามจนเหนื่อยแล้ว
รอเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาช่วยแก้ไขปัญหา ก็ไม่มาสักที
แต่จะไม่หยุดเรียกร้องให้คุณทำงานตามหน้าที่ต่อไป

 

"คนเห็นแก่ตัวไม่กี่ราย" ใช้พื้นที่กรรมสิทธิ์ของตนทำการก่อสร้างอาคารจนเกือบเต็มเขตที่ดิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเจ้าของกิจการหอพัก ไม่คำนึงถึงหลัก ระยะร่น และ ที่เว้นว่าง
ซึ่งมีกฎหมายกำกับควบคุมให้ปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยและความสงบสุขของคนในสังคม

 

เมื่อพื้นที่ใช้สอยในเขตที่ดินตนเองไม่เหลือพอให้ได้ใช้แล้ว
ก็ยึดพื้นผิวจราจรใช้เป็นที่จอดรถยนต์ส่วนตัวแบบถาวร
สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนที่ใช้เส้นทางสัญจรในซอมมหาชัย 5/4

 

ผมร้องเรียน นายกเทศมนตรีเทศบาลนคร (โคราช) หลายครั้งมาก
แต่ไม่ได้รับบความสนใจ ไม่ทำหน้าที่ ไม่แก้ไขปัญหา
ไม่สั่งการให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ไม่จัดระเบียบ วินัย ให้คนทำตามกฎหมาย

 

" ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ "

 

ผู้บริหารเทศบาลฯ นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ฯลฯ
ขยันจัดกิจกรรม เข้าแถวถ่ายรูป เซลฟี่ ทำ Content ฯลฯ ผมไม่ว่า
แต่อย่าทำจนหลงมัวเมา เสพติดอยู่แต่กับ การสร้างภาพ ยกยอตนเอง
ควร " สนใจ แก้ไขปัญหา ทุกข์ สุข ของประชน ให้มากกว่า ผลประโยชน์ส่วนตัว " (ครับ)
 
ตอบ
หน้า 23 / 27
แบ่งปัน: