อำนาจหน้าที่ของเทศบาลนครนครราชสีมา

     เทศบาลนครนครราชสีมา  มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ **ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 และ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้

**พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติ ดังนี้

  • 1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
  • 2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
      2.1 รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
  • 3. รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล
  • 4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
  • 5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
  • 6. จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก
  • 7. ส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชนผู้สูงอายุและคนพิการ
  • 8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  • 9. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
  • 10. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
  • 11. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
  • 12. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
  • 13. ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
  • 14. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
  • 15. ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
  • 16. จัดระเบียบการจราจร หรือร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
  • 17. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
  • 18. กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
  • 19. การควบคุมสุขลักษณะอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น
  • 20. จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
  • 21. จัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
  • 22. การวางผังเมือง และการควบคุมการก่อสร้าง
  • 23. การส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว
  • 24. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

**พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่
ที่จะต้องปฏิบัติ ดังนี้

  • 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
  • 2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
  • 3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
  • 4. การสาธาณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
  • 5. การสาธารณูปการ
  • 6. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
  • 7. การพาณิชย์ และส่งเสริมการลงทุน
  • 8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
  • 9. การจัดการศึกษา
  • 10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
  • 11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  • 12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
  • 13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  • 14. การส่งเสริมกีฬา
  • 15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  • 16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
  • 17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  • 18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลแลน้ำเสีย
  • 19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
  • 20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
  • 21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
  • 22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
  • 23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณูปโภคสถานอื่นๆ
  • 24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • 25. การผังเมือง
  • 26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
  • 27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
  • 28. การควบคุมอาคาร
  • 29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • 30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  • 31. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด